วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เฮอร์คิวลิส HERCULES The Legend begins



ซึ่งก็ตามฟอร์มของหนังฮอลลีวู้ด กับการหยิบยกเอาตำนานมหากาฬขนาดนี้มา แล้วมีเวลาจำกัดในการเล่าแค่ 99 นาทีของหนังเรื่องนี้ จึงทำให้ลดทอนความน่าเชื่อถือ และ ความเข้มข้นลงไปพอสมควร โดยเฉพาะเรื่องราวของการชิงรักหักเหลี่ยมในบัลลังก์ ทั้งการทรยศ ความรัก และ ศักดิ์ศรี ที่ตัวหนังนั้นพยายามจะดันเรื่องพวกนี้ออกมาให้เต็มที่ แต่น่าเสียดายที่เวลามีจำกัดเลยทำให้เรื่องราวพวกนี้นั้นยังไม่สามารถถูกเล่าออกมาได้อย่างน่าพอใจนัก แถมหนำซ้ำตัวเรื่องของหนังยังพาคนดูเดินทางไปหลายแห่งจนเรียกได้ว่ายังไม่ทันได้ซึมซับกับบรรยากาศ หนังก็เปลี่ยนสถานที่ให้คนดูไปรู้จักที่ใหม่ๆเสียแล้ว
แต่ก็ยังดีที่ในอีกด้านนึง ฉากแอ็คชั่นของตัวหนังที่ออกแบบมา ยังสามารถมอบความบันเทิงให้คนดูได้เป็นระยะ โดยเฉพาะฉากสู้รบ สงคราม และ การปะทะกันแบบตัวต่อตัวของ เฮอร์คิวลีส และเหล่าศัตรูทั้งหลาย ซึ่งหนังก็ทำออกมาได้ดีตามมาตรฐานหนังป๊อปคอร์นดูเอามันส์ทั่วๆไป ถึงแม้ฉากการปลดปล่อยพลังของ เฮอร์คิวลีส อาจจะยังไม่ดุเดือดเท่าฉากที่เขาเป็นมนุษย์ธรรมดาสักเท่าไหร่นัก
ด้านนักแสดง และ โปรดักชั่น ก็ออกมาสมราคา 80 ล้านเหรียญ

ถึงแม้จะน่าเสียดายที่ เคลเลน ลัตซ์ ไม่มีบทให้ปลดปล่อยมิติของ เฮอร์คิวลีส มากเท่าตอนที่เขาสัมภาษณ์ แต่สำหรับช่วงนี้ใครที่โหยหาหนังดูเอามันส์ ไม่ต้องสนใจอะไร Hercules ก็น่าจะเป็นคำตอบที่ดี



วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557


ปอบหวีดสยอง




ภาพยนตร์ไทยวัยรุ่นที่นำเรื่องราวของผีปอป ซึ่งเป็นชื่อที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยมานาน มาปัดฝุ่นทำใหม่ให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน แม้ว่า ปอป ยุคดิจิตอล จะไม่มีโอ่งให้เห็น แต่โครงเรื่องก็ไม่ได้ต่างจากเดิมมากนัก เพราะเหล่านักล่าปอปที่ใจกล้าๆ กลัวๆ ทั้งหลาย ก็ยังคงวิ่งหนีทุกครั้งที่พบเห็นปอป 



ใครที่คิดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะสยดสยองน่ากลัว ขอบอกให้ลืมได้เลย เพราะถึงแม้ว่าปอปจะค่อยๆ น่ากลัวขึ้นทุกทีจนแทบจะกลายพันธุ์เป็นเอเลี่ยนในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด แต่แน่นอนว่าจุดขายของภาพยนตร์ไม่ได้อยู่ที่ความน่ากลัวของปอป แต่อยู่ที่ความฮาของตัวละครอย่าง อิสเบลล่า (ซึ่งไปร่วมแสดงในสตรีเหล็ก 2 ได้สบายๆ) และแขกรับเชิญที่ล้วนแต่หน้าคุ้นๆ 
ในวงการภาพยนตร์ทั้งนั้น 



ใครที่คิดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะสยดสยองน่ากลัว ขอบอกให้ลืมได้เลย เพราะถึงแม้ว่าปอปจะค่อยๆ น่ากลัวขึ้นทุกทีจนแทบจะกลายพันธุ์เป็นเอเลี่ยนในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด แต่แน่นอนว่าจุดขายของภาพยนตร์ไม่ได้อยู่ที่ความน่ากลัวของปอป แต่อยู่ที่ความฮาของตัวละครอย่าง อิสเบลล่า (ซึ่งไปร่วมแสดงในสตรีเหล็ก 2 ได้สบายๆ) และแขกรับเชิญที่ล้วนแต่หน้าคุ้นๆ ในวงการภาพยนตร์ทั้งนั้น 




น่าเสียดายที่ภาพยนตร์หวังจะขายภาพเซ็กซี่ของผีปอปและมุขทะลึ่งตึงตังมากเกินไป จึงทำให้ภาพยนตร์ในบางช่วงดูยืดเยื้อและซ้ำซาก ซึ่งถ้าหากตัดออกไปบ้าง คงจะทำให้ภาพยนตร์น่าสนใจมากกว่านี้








วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

เด็กโต๋



อย่าพึ่งรีบโต มาโต๋กันก่อน..

สารคดีเรื่องเด็กโต๋เสาร์นี้นะค่ะ พร้อมกับบรรยากาศวันเด็กน่ารักๆ 






วันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมาได้มีโอกาสชม  เด็กโต๋ เป็นภาพยนตร์นอกกระแส ประเภทสารคดี เมื่อปี พ.ศ. 2548 สร้างโดย อารียา สิริโสภา เป็นเรื่องราวของเด็กจากโรงเรียนบ้านแม่โต๋โรงเรียนประจำของชาวเขาในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน พ.ศ. 2548

ภาพยนตร์ดังกล่าวถ่ายด้วยกล้องวิดีโอดิจิตอล เล่าเรื่องราวของประยูร คำชัย ครูใหญ่โรงเรียนบ้านแม่โต๋ในแถบภูเขาชนบทของจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีครอบครัวชาวเขาที่ยากจน (ส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงและม้ง) ดำรงชีพด้วยการเป็นเกษตรกรและสภาพภูมิประเทศที่ขรุขระ ประยูรจึงมองหาหนทางที่จะรับประกันว่าเด็กนักเรียนในโรงเรียนขาดใหญ่แห่งนี้ได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม เด็กนักเรียนมักจะต้องเดินทาง 80 ถึง 90 กิโลเมตรโดยใช้ถนนบนภูเขาที่แคบและคดเคี้ยว ซึ่งในฤดูฝนจะทำให้ถนนดังกล่าวใช้สัญจรไปยังโรงเรียนไม่ได้ และผู้ปกครองของนักเรียนบ่อยครั้งที่ยากจนเกินกว่าจะจ่ายค่าเล่าเรียนได้

โรงเรียนแห่งนี้ได้รับเงินสนับสนุนเล็กน้อยจากรัฐบาลไทย วัสดุก่อสร้างหอพักโรงเรียนกอนนอนได้รับบริจาคมา และงานก่อสร้างและการพัฒนาอื่น ๆ ส่วนใหญ่เด็กนักเรียนและครูเป็นผู้ลงมือเอง นอกเหนือไปจากค่าอาหารส่วนหนึ่งที่ได้รับจากรัฐบาล นักเรียนต้องปลูกผักและเลี้ยงปศุสัตว์เอง
โรงเรียนบ้านแม่โต๋เปิดสอนไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประยูรกำหนดให้นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาได้รับรางวัลเป็นการเดินทางไปท่องเที่ยวยังจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นระยะทางมากกว่า 1,000 กิโลเมตรเป็นเวลาสามวัน โดยรถบรรทุกและรถบัส สำหรับนักเรียน เป็นครั้งแรกสำหรับพวกเขาที่จะได้เห็นทะเล นักเรียนจะพักตามวัดต่าง ๆ ตามรายทางเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย   












วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556



การเขียนบทหนังสั้น

หนังสั้น คือ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้น ๆ แต่ได้ใจความ ศิลปะการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั่นคือ การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเสมอ ฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา
สิ่งที่สำคัญในการเขียนบทหนังสั้นก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้เมื่อเราได้เรื่องที่จะเขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง) ว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคนอย่างไร เพราะความเข้าใจในมนุษย์ ยิ่งเราเข้าใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งทำหนังได้ลึกมากขึ้นเท่านั้นและเมื่อเราได้เรื่อง ได้โครงเรื่องมาเรียบร้อยแล้ว เราก็นำมาเป็นรายละเอียดของฉาก ว่ามีกี่ฉากในแต่ละฉากมีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่นมีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ไปเรื่อย ๆ จนจบเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนการเขียนบทไม่ได้มีอะไรยุ่งยากมากมาย เพราะมีการกำหนดเป็นแบบแผนไว้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยาก มาก ๆ ก็คือกระบวนการคิด ว่าคิดอย่างไรให้ลึกซึ้ง คิดอย่างไรให้สมเหตุสมผล ซึ่งวิธีคิดเหล่านี้ไม่มีใครสอนกันได้ทุกคน ต้องค้นหาวิธีลองผิดลองถูก จนกระทั่ง ค้นพบวิธีคิดของตัวเองการเตรียมการและการเขียนบทภาพยนตร์
การเขียนบทภาพยนตร์เริ่มต้นที่ไหน เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ ๆ เช่น ควรเริ่มช็อตแรก เห็นยานอวกาศลำใหญ่แล่นเข้ามาขอบเฟรมบนแล้วเลยไปสู่แกแล็กซี่เบื้องหน้าเพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจักรวาล หรือเริ่มต้นด้วยรถที่ขับไล่ล่ากันกลางเมืองเพื่อสร้างความตื่นเต้นดี หรือเริ่มต้นด้วยความเงียบมีเสียงหัวใจเต้นตึกตัก ๆ ดี หรือเริ่มต้นด้วยความฝันหรือเริ่มต้นที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ดี เหล่านี้เป็นต้น บางคนบอกว่ามีโครงเรื่องดี ๆ แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไร
การเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ เราต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละครและแอ็คชั่น ดังนั้น นักเขียนควรเริ่มต้นจากจุดนี้พร้อมด้วยโครงสร้าง (Structure) ของบทภาพยนตร์
ประเด็นอาจเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น มนุษย์ต่างดาวเข้ามาเยือนโลกแล้วพลัดพลาดจากยานอวกาศของตน ไม่สามารถกลับดวงดาวของตัวเองได้ จนกระทั่งมีเด็ก ๆ ไปพบเข้าจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน และช่วยพาหลบหนีจากอันตรายกลับไปยังยานของตนได้ นี่คือเรื่อง E.T. – The Extra-Terrestrial (1982) หรือประเด็นเป็นเรื่องของนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทที่สูญเสียตำแหน่งและต้องการเอากลับคืนมา คือเรื่อง Rocky III หรือนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุสำคัญที่หายไปหลายศตวรรษ คือเรื่อง Raider of the Lost Ark (1981) เป็นต้น
การคิดประเด็นของเรื่องในบทภาพยนตร์ของเราว่าคืออะไร ให้กรองแนวความคิดจนเหลือจุดที่สำคัญมุ่งไปที่ตัวละครและแอ็คชั่น แล้วเขียนให้ได้สัก 2-3 ประโยค ไม่ควรมากกว่านี้ และที่สำคัญไม่ควรกังวลในจุดนี้ว่าจะต้องทำให้บทภาพยนตร์ของเราถูกต้องในแง่ของเรื่องราว แต่ควรให้มันพัฒนาไปตามแนวทางของขั้นตอนการเขียนจะดีกว่าสิ่งแรกที่เราควรฝึกเขียนคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับความดีและความชั่วร้าย หรือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มชาวกรุงกับหญิงบ้านนอก ความพยาบาทของปีศาจสาวที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่ยังขาดแง่มุมของการเขียนว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จึงต้องชัดเจนมากกว่านี้ โดยเริ่มที่ตัวละครหลักและแอ็คชั่น ดังนั้นประเด็นของเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของจุดเริ่มต้นการเขียนบทภาพยนตร์
อย่างไรก็ตาม การเขียนบทภาพยนตร์สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ควรค้นหาสิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของนักเขียนเอง เขียงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ ทำให้ได้รายละเอียดในเชิงลึกของเนื้อหา เกิดความจริง สร้างความตื่นตะลึงได้ เช่นเรื่องในครอบครัว เรื่องของเพื่อนบ้าน เรื่องในที่ทำงาน ของตนเอง เรื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น
 ดังนั้นขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์สามารถสรุปได้คือ


1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)

เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า...” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ (premise)  ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ5. บทภาพยนตร์ (screenplay)สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที6. บทถ่ายทำ (shooting script)คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง7. บทภาพ (storyboard)คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ      เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วยการเขียนบทภาพยนตร์จากเรื่องสั้น
การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย   เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ ซึ่งบทภาพยนตร์ต่อไปนี้ได้แปลมาจากเรื่องสั้นในนิตยสาร The Mississippi Review โดย Robert Olen Butler เรื่อง Salem แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงมาตรฐานรูปแบบการเขียนบทภาพยนตร์ว่ามีการเขียนและการจัดหน้าอย่างไร ขอให้ศึกษาได้ใบทภาพยนตร์โดยทั่วไป
แหล่งข้อมูล : www.thaishortfilm.com 

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556


เรื่องการจัดระดับหรือเรท ( Rate ) 


The Motion Picture Association of America หรือ MPAA
ป็นองค์กรที่คอยกำหนดเรท ให้กับหนังแต่ละเรื่อง พูดง่ายๆ ก็เหมือน กบว. บ้านเรานั่นแหละ โดยเริ่มมีการจัดเรทหนังมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 1968 หนังทุกเรื่องที่จะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ต้องส่งหนังไปให้คณะกรรมการได้ พิจารณาให้เรทก่อน แต่ก็ไม่จำเป็นที่หนังทุกเรื่องจะต้องมีเรทเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเจ้าของหนังว่ามีความรับผิดชอบมากแค่ไหน 
แต่โดยส่วนใหญ่แล้วก็มีการส่งให้พิจารณาแทบทุกเรื่อง เรทหนัง ของอเมริกาแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้ 



เรท G (General Audiences)
 สำหรับหนังที่เหมาะกับผู้ชมทุกเพศทุกวัย ไม่มีพิษมีภัย ดูได้ทั้งครอบครัวเด็กเล็กสามารถดูได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ปกครองชี้แนะ โดยส่วนใหญ่จะเป็นหนังการ์ตูน อาทิ Beauty and the Beast, Tarzan, Chicken Run หรือหนังครอบครัว 
อย่าง The Princess Diaries, 101 Dalmations, Doctor Dolittle 


เรท PG (Parental Guidance Suggested)  สำหรับหนังที่เหมาะกับผู้ชมทุกเพศทุก วัยเช่นกัน แต่อาจมีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็กไม่ว่าจะเป็นการกระทำหรือคำหยาบ เช่น Home Alone มีหลายฉากที่เด็กต้องต่อสู้กับหัวขโมย แม้จะไม่มีความรุนแรงมากนัก แต่ก็สมควรที่ผู้ใหญ่จะชี้แนะแก่ เด็กเล็กๆ ส่วนใหญ่ก็เป็นหนังครอบครัว 
เช่น Spy Kids, Stuart Little,Runaway Bride 
หนังการ์ตูนที่มี เนื้อหาหนักขึ้นกว่าเรท G 
อย่าง Shrek, Dinosaur, Atlantis: The Lost Empire 


เรท PG-13 (Parents Strongly Cautioned) เพิ่งจะกำเนิดขึ้นไม่นาน และนำมาใช้ เป็นครั้งแรกในปี 1989 กับหนัง Indiana Jones And The Last Crusade 
กับฉากที่หมอผีชำแหละเอา หัวใจของชายคนหนึ่งออกมา นับเป็นฉากที่รุนแรงเกินกว่าที่เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีจะรับได้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้รุนแรงมากถึงขึ้นสมควรได้รับเรท R หนังส่วนใหญ่ที่ได้รับเรทนี้จึงเป็นหนัง ที่มีเนื้อหาและความรุนแรงอยู่ในระดับกลาง อย่างเช่น ฉากโป๊เปลือย, ยาเสพติด, การต่อสู้, คำหยาบ สมควรที่ผู้ปกครองจะดูร่วมกับกับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี และให้คำชี้แนะ หนังที่ได้เรท PG-13 อาทิ The Addams Family, Batman ทุกภาค, Billy Elliot,Lara Croft: Tomb Raider, Pearl Harbor, Moulin Rouge เป็นต้น 


เรท R (Restricted) มีหลายคนเข้าใจผิดเป็นอย่างมากกับเรทนี้ อย่างที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ ว่า "หนังอาร์" ส่วนใหญ่ก็คิดกันไปว่าเป็นหนังโป๊ แต่หารู้ไม่ว่าหนังอย่าง 
Terminator 2: Judgment Day ก็ได้รับ เรท R หนังที่ได้รับเรทนี้จะมีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ มีความรุนแรงอยู่สูง มีฉากโป๊เปลือยหรือพูดถึงเรื่องเพศอย่างโจ่งแจ้ง 
คำหยาบคายมากมาย การใช้ยาเสพติด เช่น A Few Good Men, Memento, Basic Instinct, Eyes Wide Shut, Scary Movie, Traffic, American Beauty 
รวมทั้งหนังการ์ตูนผู้ใหญ่อย่าง South Park - Bigger, Longer & Uncut หนังที่ได้รับเรท R ห้ามไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 17 ปีเข้าชมโดยลำพังยกเว้นจะมีผู้ปกครองมาด้วย 


เรท NC-17 (No One 17 And Under Admitted) เป็นเรทน้องใหม่สุดและรุนแรงที่ สุด เรทนี้ถูกแยกออกมาจากเรท X เดิมซึ่งมักจะนำไปใช้กับหนังประเภทปลุกใจเสือป่าเสียส่วนใหญ่ แต่เรท NC-17 เป็นการแบ่งประเภทให้ชัดเจนว่า ไม่ใช่หนังโป๊เพียงอย่างเดียว 
แต่เป็นหนังที่มีเนื้อหารุนแรงมาก โดย ส่วนใหญ่ก็มักจะเกี่ยวกับเรื่องเพศ ศีลธรรม ศาสนา คำหยาบคาย การต่อสู้หรือการกระทำที่รุนแรงมากหนังเรื่อง Henry & June ได้รับเรท NC-17 เป็นเรื่องแรกนอกจากนั้นยังมีหนังอย่าง Showgirls, The Cook, The Thieft, His Wife And Her Lover, Crash, Bad Lieutenant 
หนังที่ได้รับเรทนี้ ห้าม มิให้ผู้ชมที่อายุต่ำกว่า 17 ปีเข้าชมอย่างเด็ดขาด 

ทั้งหมดนี้คือเรทหนังที่ทางอเมริกากำหนดขึ้น ซึ่งถือเป็นเรทที่ใช้กัน ในระดับสากล ระบบการกำหนดอายุผู้ชมนี้จะเคร่งครัดมาก หากไม่มีผู้ปกครอง ไปด้วย เยาวชนจะต้องมีการแสดงบัตรประชาชนก่อนซื้อตั๋วเข้าชม ตามการ กำหนดอายุผู้ชมของหนังแต่ละเรื่อง 
น่าดีใจแทนประเทศอื่นๆ ที่มีการจัด ระเบียบแบบแผนเช่นนี้ โดยไม่จำเป็นต้องตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังออก แต่ ใช้วิธีกำหนดที่อายุของผู้ชมแทน ถือเป็นเรื่องที่เมืองไทยน่าจะทำตาม ไม่ใช่ใช้ วิธีการตัดหรือทำภาพเบลอ ซึ่งไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นเลย 

หลายครั้งที่เห็นข่าวฆ่ากันตายหน้าหนึ่ง แล้วก็โทษว่าเลียนแบบมาจาก หนัง จริงๆ แล้ววิธีแก้ปัญหาที่ตรงจุดคือ การที่ผู้ปกครองหยิบยื่น สิ่งที่เหมาะ สมให้กับวัยของเด็ก แล้วก็ให้คำชี้แนะมากกว่า ไม่ใช่ตั้งใจแต่จะปิดกั้นไม่ให้ได้รับรู้อะไรเลยแล้วปล่อยให้เด็กต้องไปแอบดูกันเองทีหลัง 
สำหรับสาย Y นะฮะ  รู้ไว้เพื่อเพิ่มความเข้าใจ
ยืมข้อมูลเค้ามา  http://smfixz.com/_xe/notice/5691 

H=Hentai 
แปลตรงๆก็ ลามก/ทะลึ่ง ถ้ามันโป๊ก็ถือว่าHแล้ว ไม่จำเป็นต้องวิตถารหรอก เป็นพลังหลักที่แทรกซึมอยู่ทุกแห่งหน ปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มสีสรรค์ให้แก่พลังอื่นๆได้เป็นอย่างดี 
     H ถ้าแค่ตัวเดียว ออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นว่า Ecchi แปลว่า ทะลึ่ง ถ้าเป็นคำกริยา Ecchi suru แปลว่า มี sex แต่ถ้าเอาว่ามันย่อมาจาก Hentai ล่ะก็ คำนี้แปลว่า วิตถาร 

O = Obacon/Ojicon  สามารถแบ่งได้สองความหมายคือ 
Obacon - ฝ่ายชายที่ชอบผู้หญิงอายุมากกว่า Preview - Onegai Teacher 
Ojicon - ฝ่ายหญิงที่ชอบผู้ชายอายุมากกว่า Preview - Sister Princess 

L = Lolicon (Lolita Complex)   
อันนี้หลายๆคนคงรู้จักกันดี มันคือพลังแห่งนางงาม(รักเด็ก)นั่นเอง เหล่าสาวน้อยผู้สุดแสนจะบริสุทธิ์และไร้เดียงสาเหล่านี้มีพลังบางอย่างที่สามารถสยบเหล่าหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสุดๆ อาจกล่าวได้ว่าเป็นพลังที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็คงจะไม่ผิด 
Preview - Tomomi form Pia carrot3 

Y = Yaoi/Yuri  
อันนี้แปลได้ 2 ความหมายแต่ก็ครือกัน คือประมาณว่ารักร่วมเพศนั่นเอง 
Yaoi   สงครามยุธหัตถี มันคือเนื้อร้ายของโลกใบนี้ สมควรตัดทิ้งออกไปอย่างเร็วที่สุด (ไม่จริ๊งงงง ถึงจะฮาแต่อันนี้ไม่เห็นด้วย/ken) 
Preview - Yugi x Kaiba form YUGIOH มันเริ่มจาก ศัตรู คู่แข่ง เพื่อน และมาจบที่คนรัก, 
Yuri  วงมโหรี เปรียบได้กับฤดูใบไม้ผลิอันแสนจะสดชื่นและงดงาม ซึ่งทุกคนยินดีต้อนรับเสมอ ) ( สมควรที่จะอยู่คู่โลกตราบเท่าฟ้าดินสลาย ยูริจงจาเริ้นนนนนนน 
Preview - Natsuki x Shizuru form Mai-HIME [ใจจริงอยากเอาโคโนกะxเซ็ตจังมากกว่าแต่เสียวโดนอำนาจมืด...] 


K = Kenshiro[kinniku]/Kemo 
Kenshiro - มันคือพลังแห่งกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออันอุดมไปด้วยมัดกล้ามนับว่าเป็นเกียรติยศแห่งลูกผู้ชาย ทว่าผมไม่เอาด้วยคนนึงละ... (ตูก้ม่ายอ่าววว/ken) และถ้ามันมาคู่กับพลังYล่ะก้อ...มันคือที่สุดของฝันร้ายเลยละครับ.. 
Preview - Kenshiro [Originalเจ้าของฉายาผู้ซึ่งมีมัดกล้ามอันงดงามที่สามารถดีดหัวศัตรูให้ระเบิดได้ด้วยปลายนิ้ว] 

Kemo  - พลังKอีกแขนงหมายถึงพวกกึ่งมนุษย์กึ่งสัตว์(น่ารักตรงไหน?) 


SM/MS = Sadism/Masokism  
ความเจ็บปวดและหยดน้ำตาคือความสนุกสนานของพวกเค้า..... น่ากลัวไม่แพ้กะข้างบน 

Sadism - สำหรับผู้ชอบสร้างความเจ็บปวด 

Masochism - สำหรับผู้ชอบรับความเจ็บปวด 

 I = Incest  
ประมาณว่ารักสายเลือดเดียวกัน เช่นพี่/น้อง พ่อ,แม่/ลูก เป็นต้น ค่อนข้างผิดศีลธรรมอันดีงาม อย่าไปริเลียนแบบ 
โปรดคิดซะว่ามันเป็นเพียงแค่การ์ตูน แต่ถ้าสูบเฉยๆก็ตามสบายครับ 
Preview - Sister Princess [คำเตือน - ไม่ควรนำให้น้องคุณดูเด็ดขาดมิฉะนั้นน้องคุณอาจมีค่านิยมใหม่อยากได้พี่ชายเป็นสามี] 


M  ในส่วนของMจะแตกแขนงออกไปอีกมากมาย ดังนี้ 

Maid  สาวน้อยในชุดเมดหรือชุดสาวใช้(แบบฝรั่ง)นั่นเอง ลองจับสาวใช้ที่บ้านมาสวมชุดนี้ดูสิครับ ถ้าไม่น่ารักก็คงกลายเป็นแจ๋วไปเลยล่ะ Preview - He is my master 

Megane และสุดแสน จะบริสุทธิ์ไปซะแล้ว อีกทั้งแว่นตายังถือเป็นสุดยอดไอเท็มที่ได้รับโดยทั่วไปว่ามันสามารถช่วย+ความน่ารักให้แก่สาวๆได้ถึง480%เลยทีเดียว!!! 

Megami  หรือหมายถึงบรรดาเทพธิดาทั้งหลาย ข้อมูลไม่มาก ไม่สามารถให้รายละเอียดได้มากกว่านี้ 
Preview - Oh! My Goddess [เบลดันดีผู้ซึ่งมีชื่อชวนให้สงสัยว่าเป็นอะไรกับทอมดันดีหรือเปล่า?] 

Miko  หรือสาวน้อยในชุดคนทรงของญี่ปุ่น ใครเคยอ่านการ์ตูนน่าจะเคยเห็นกัน แต่สงสัยอยู่เหมือนกันว่าถ้าเสพพลังสายนี้มันจะบาปหรือเปล่า... 
Preview มิโกะคนทรงหุ่นเทวะ ( มิโกะคนหื่นพลังวายชัด ๆ - -" ) 

Mimi  หมายถึง หู นานาชนิดไม่ว่าจะเป็น หูแมว(Neko) หรือ หูหมา(Inu) หรือหูอื่นๆอีกมากมาย เชื่อหรือไม่ หูพวกนี้เมื่อถูกประดับลงบนศีษระ ของเหล่าสาวๆ+(หนุ่มน้อย/Admin) มันจะช่วยบวกความน่ารักขึ้นอีกกว่า80%เลยทีเดียว โดยเฉพาะหูแมวมันคือที่สุดของที่สุดแล้ว... ไม่เชื่อท่านลองนึกภาพนารุสวมหูแมวเข้ามาคลอเคลียคุณประดุจดั่งแมวน้อยขี้อ้อนดูสิครับ....(อ้าวๆอย่าเพิ่งเคลิ้ม) 
Preview - DigiCharat [คุณอาจทนรับไม่ได้กับความติ๊งต๊องของแมวน้อยต่างดาวตัวนี้...] 

Mecha สาวน้อยพลังวิทยาศาสตร์ ซึ่งในใจลึกๆทุกคนคงอยากจะมีไว้ในครอบครองซักเครื่อง และอาจต้องมีเรื่องวุ่นวายตามมาตามประสาพล๊อตการ์ตูนโหลๆ Preview - Chobit [อย่าแม้แต่จะคิดมีอะไรกับเธอ มิฉะนั้นคุณอาจโดนไฟดูดตายได้] 


S  อันนี้แบ่งได้อีกสามคือ 

Shotacon  - หรือหมายถึงฝ่ายหญิงที่มีอายุมากกว่าชอบเด็กชายอายุน้อยกว่า คล้ายLแต่สลับเพศกัน 
Preview - Mahou Sensei Negima! [ไม่ต้องห่วงเพราะชีวิตจริงคุณไม่มีทางได้เป็นครูของนักเรียนหญิงล้วนรุ่นพี่กว่า 30 คนหรอก] 

Shojo ai  Yuri ประเภทเบาะๆ ไม่รุนแรงเท่ารุ่นพี่ ( แต่มักถูกเหมาเป็น Yuri อยู่เรื่อย ) 

Shonen ai คล้าย ๆ กรณีของ Shojo ai แต่เป็น Yaoi ครับ 

Sleep พลังตัวนี้เมื่อนานมาแล้วผมเคยได้ยินในชื่อของพลังAหรือย่อมาจากAyanami Reiที่เป็นดั่งคาแรคเตอร์ต้นแบบของตัวการ์ตูนลักษณะนี้ และปัจจุบันมันได้กลับมาใหม่ในชื่อของ S 
Preview - Rei form Evagelion [Originalผู้ซึ่งเป็นตำนานสาวน้อยเฉยชาที่สุดในปฐพี ทว่ารอยยิ้มของเธอนั้นมันแทบจะทำให้โลกหยุดหมุนเลยทีเดียว ไม่เชื่อลองไปดูในmangaเล่ม3ตอนที่ชินจิไปช่วยเรย์ออกมาจากเอนทรี่ปลั๊ก... สำหรับผมรอยยิ้มนั้นมันคือสุดยอดแล้ว....] 

T = Twin 
หรือก็คือพลังฝาแฝดอลเวง แค่คนเดียวก็น่ารักเหลือเชื่อแล้ว แต่นี้มีถึงสอง ไม่เรียกว่ากำไรจะเรียกอะไรดีล่ะ? 

P = psycho  
พลังลึกลับ ความหายตรงตัวหมายถึงพวกที่จิตๆเล็กน้อยถึงปานกลาง คาแรคเตอร์พวกนี้อาจไม่พบเห็นได้มากนัก ยกตัวอย่างที่ดังๆ 
ก็เช่น L แห่งเดธโน๊ต เขาคนนี้ก็ติดเชื้อPเหมือนกัน Preview - L form Death Note [บุคคลที่ทำให้ประชากรหลายร้อยคนเลียนแบบท่าจับดินสอ 
ท่าถือมือถือ ท่านั่ง ท่าจับแก้วกาแฟ รวมไปถึงขอบตาดำอันมีเสน่ห์(?)] 

G=Guro 
พลังเลือดสาด ไม่ขอบรรยายมากเพราะแค่คุณได้เห็นภาพคุณก็จะเข้าใจทุกอย่างทันที... 
Preview - Sister Princess [G - Mode - -" ] 

N-Nasil หมายถึงพวกหลงรูปตัวเอง เป็นพวกที่คิดว่าตนเองนั้นงามสุดในปฐพี ใครฤๅจะมาเทียบเทียมได้? 

F-Fetishism คือ พวกชอบสิ่งของหรือเครื่องแต่งกายเพศตรงข้าม รวมไปถึงพวกชอบแต่งกายในชุดยูนิฟอร์มต่างๆ(ชุดตำรวจ ชุดนางพยาบาล etc.) 

T-Tentacle  พลังหนวด... ส่วนใหญ่มันจะมาคู่กับพลังHชนิดอภิมหาวิปฯ มันจะเป็นอย่างไรก็ลองจิ้นกันดูเองแล้วกันครับ...

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Breaking News!! : ความคืบหน้าของ Fast & Furious 7 






ซึ่งทาง Paul Walker นั้นได้ถ่ายทำไปแล้วประมาณครึ่งหนึ่ง และยังเหลือฉากสำคัญอีกหลายฉากที่เขายังไม่ได้แสดง...ล่าสุดค่ะ...Chris Morgan ผู้เขียนบทของภาพยนตร์ชุดนี้ และ ภาคนี้ ได้ตัดสินใจที่จะแก้ไขบท...โดยอาจจะไปแก้ไขในส่วนที่ตัวละคร Brian O’Conner...ในฉากที่ Paul Walker ได้แสดงไปแล้ว

โดยทางทีมงาน และ Universal เลือกที่จะหาทางออกในการสั่งลาตัวละคร Brian O’Conner มากกว่าที่จะตัดทิ้งออกไปจากเรื่องเลย.


ซึ่ง "ถ้า" การแก้ไขบทในครั้งนี้เป็นไปได้ด้วยดี...ทีมงานและนักแสดงคนอื่นๆก็อาจจะได้กลับมาเริ่มถ่ายทำกันต่อในเดือน มกราคม ปีหน้าแม้ว่ามันจะกระทบกับกำหนดฉายในวันที่ 11 กรกฎาคม ปีหน้า ก็ตาม...จนทำให้ จิ้งจอกสองพันปี ฉวยโอกาสเลื่อน Dawn of the Planet of the Apes มาเข้าฉายในวันนั้นแทน...จากกำหนดเดิมในวันที่ 18 กรกฎาคม...แต่ว่าทาง Universal ก็ยังไม่ได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ ว่าจะเลื่อนกำหนดฉายไปจากเดิมหรือไม่ และ จะเลื่อนไปเป็นตอนไหน...



ขอขอคุณข้อมูลจากเพจ Sense on Films